external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ


บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคาร


ด้านกลยุทธ์และนโยบาย

  1. อนุมัติและทบทวนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของธนาคารในภาพรวม แผนธุรกิจของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร กรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงที่ดี (Risk Governance Framework) รวมถึงนโยบายที่สำคัญและนโยบายด้านความเสี่ยงและขั้นตอนการบริหาร จัดการด้านความเสี่ยง ของธนาคาร โดยครอบคลุมบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร รวมถึงบริษัทที่ธนาคารมีการลงทุน โดยคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่ดี
  2. อนุมัติงบประมาณรวมถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite)
  3. ปกป้องคุณค่าของธนาคารในระยะยาวซึ่งในที่นี้รวมหมายถึงแบรนด์และชื่อเสียงของธนาคาร
  4. พิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อกรณีที่วงเงินกู้เกินกว่าอำนาจอนุมัติของฝ่ายจัดการ หรืออำนาจดำเนินการที่กำหนดไว้
  5. พิจารณาอนุมัติเพดานความเสี่ยงอื่น ๆ และนโยบายตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่กำกับดูแลกำหนด
  6. กำหนดประเด็นและตารางเวลาที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมการธนาคารระหว่างปี สำหรับประเด็นที่สำคัญๆ ที่ควรนำเสนอก่อนประเด็นทั่วไป เช่น กลยุทธ์ สถานะทางการเงิน ความคืบหน้าเกี่ยวกับงบประมาณและแผนการดำเนินงาน การวางแผนเงินทุน ความเสี่ยงต่าง ๆ การประเมินผลการดำเนินงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และการกำกับดูแลการดำเนินการต่าง ๆ เช่น กระบวนการพิจารณาอนุมัติผลิตภัณฑ์
  7. พิจารณาอนุมัติอำนาจหน้าที่หรือมอบอำนาจอนุมัติพิจารณาสินเชื่อ เพดานความเสี่ยงด้านตลาด การเข้าครอบครองกิจการ การขายกิจการ การลงทุน หรือการรับรู้หรือการเริ่มธุรกิจใหม่
  8. ดูแลให้บริษัทในกลุ่มของธนาคารและบริษัทที่ธนาคารมีการลงทุน นำนโยบายต่าง ๆของธนาคารไปปฏิบัติหรือไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละบริษัทนั้น
ด้านการกำกับการปฏิบัติงาน

  1. ควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการธนาคารอันเป็นส่วนหนึ่งของการถ่วงดุลอำนาจเพื่อการกำกับการปฏิบัติงานที่ดี
  2. ดูแลให้สถาบันการเงินบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม
  3. ให้มีการจัดทำนโยบายและมีกระบวนการแจ้งเบาะแสภายในองค์กร (Whistleblowing Policy and Procedure) ที่มีประสิทธิภาพ
  4. พบปะผู้บริหารระดับสูงเป็นประจำเพื่อทบทวนนโยบาย สร้างแนวทางการสื่อสารและการติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับเป้าหมายของธนาคาร
  5. ส่งเสริมความมั่นคงและแข็งแกร่งของธนาคาร เข้าใจลักษณะของกฎเกณฑ์ทางการและดำเนินการเพื่อให้ธนาคารดำรงความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานที่กำกับดูแล
  6. ให้คำปรึกษาแก่ฝ่ายจัดการ ตลอดจนคำแนะนำในการปฏิบัติงานตามที่ได้รวบรวมจากสถานการณ์ต่าง ๆ
  7. ทบทวนและพิจารณาอนุมัติรายการที่เกี่ยวโยงกันตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด และวงเงินสินเชื่อแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในกรณีที่ได้รับอนุญาตหรือต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด
  8. ดูแลให้ธนาคารมีการเปิดเผยข้อมูลด้านธรรมาภิบาลที่สำคัญต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นและสาธารณะ เพื่อสนับสนุนและแสดงให้เห็นถึงการมีธรรมาภิบาลที่ดีของธนาคาร
  9. ดูแลและจัดการธนาคารให้มีการตรวจสอบและควบคุมที่ดีเป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับของธนาคาร รวมทั้งมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  10. การพิจารณามอบอำนาจและกำกับดูแลการกระจายอำนาจในการบริหารงานหรือดำเนินการในธุรกิจธนาคารภายใต้สิ่งที่คณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติไว้
ด้านการจัดการองค์กร

  1. จัดระเบียบคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการชุดย่อยที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพและการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อให้ความช่วยเหลือในการทำหน้าที่และให้คำปรึกษาในเรื่องที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแก่คณะกรรมการธนาคาร
  3. ประเมินประสิทธิภาพการกำกับดูแลกิจการธนาคาร รวมถึงเรื่องการเสนอชื่อและการคัดเลือกกรรมการธนาคาร การจัดการเรื่องข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์ การแก้ไขจุดอ่อนที่มีและดำเนินการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น
  4. พัฒนาและรักษาระดับความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมตามธุรกิจของธนาคารที่เติบโตและมีความซับซ้อนมากขึ้น
  5. คัดเลือก ดูแล และปรับเปลี่ยนผู้บริหารหลักเมื่อจำเป็น โดยมั่นใจว่าธนาคารมีแผนการสืบทอดผู้บริหารที่เหมาะสม และผู้สืบทอดตำแหน่งเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมในการบริหารกิจการธนาคาร
  6. คัดเลือก ประเมิน และกำหนดค่าตอบแทนของประธานเจ้าหน้าที่บริหารตลอดจนผู้บริหารระดับสูงที่กำหนด
  7. ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าผลประโยชน์และค่าตอบแทนของธนาคารมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และข้อคิดเห็นของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
  8. ทบทวนโครงสร้างภายในของธนาคารอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าขอบเขตความรับผิดชอบของฝ่ายจัดการมีความชัดเจนทั่วทั้งองค์กร

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อย


กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ

  1. ภารกิจ
  2. สนับสนุนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารโดยคำนึงถึงความซับซ้อน ลักษณะธุรกิจและกลยุทธ์ การดำเนินงานในระยะยาว
  3. ที่มาและวัตถุประสงค์
  4. เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อแบ่งเบาภาระของคณะกรรมการในการตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานของธนาคารให้เป็นไปตามนโยบายและกลยุทธ์
  5. องค์ประกอบ
    1. 3.1 คณะกรรมการตรวจสอบต้องมีความเป็นอิสระ มีความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสมในธุรกิจสถาบันการเงิน รวมถึงบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยต้องมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามประกาศของคณะกรรมการตลาดทุน
    2. 3.2 คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 3 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการธนาคาร
    3. 3.3 ประธานคณะกรรมการตรวจสอบแต่งตั้งและถอดถอนโดยคณะกรรมการธนาคาร
    4. 3.4 ต้องมีกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้
    5. 3.5 ต้องมีเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบหนึ่งคน ทำหน้าที่จัดประชุม และจดบันทึกการประชุม
    6. 3.6 สมาชิกคณะกรรมการตรวจสอบมีวาระการดำรงตำแหน่ง ตามวาระการเป็นกรรมการธนาคาร
    7. 3.7 สมาชิกภาพของกรรมการตรวจสอบสิ้นสุดลงโดยการ
      1. (1) พ้นสภาพการเป็นกรรมการธนาคาร
      2. (2) ลาออก
      3. (3) ถูกถอดถอน
    8. 3.8 กรรมการที่พ้นวาระการดำรงตำแหน่ง อาจได้รับแต่งตั้งให้กลับเข้ารับหน้าที่ได้อีก
  6. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
    1. สอบทานให้ธนาคารมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ
    2. สอบทานให้ธนาคารมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในก่อนนำเสนอคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล (NRCC) เพื่อเห็นชอบและเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่ออนุมัติตามลำดับ
    3. ประเมินผลงานรวมถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน รวมถึงการตั้งดัชนีชี้วัดผลงาน (KPI) ของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน
    4. ประเมินผลงาน รวมถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน รวมถึงการตั้งดัชนีชี้วัดผลงาน (KPI) ของหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารกำกับการปฏิบัติงาน
    5. พิจารณาและอนุมัติแผนงานตรวจสอบประจำปี (Annual Audit Plan) ของหน่วยงานตรวจสอบภายในรวมถึงพิจารณาความเพียงพอของบุคลากร และงบประมาณที่ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้
    6. สอบทานและอนุมัติกฎบัตรตรวจสอบภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สะท้อนถึงวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ซึ่งสอดคล้องกับกรอบการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในที่เป็นสากล (The IIA's International Professional Practices Framework)
    7. สอบทานให้ธนาคารปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของธนาคาร
    8. พิจารณาและอนุมัตินโยบายกำกับการปฏิบัติงาน แผนงานการกำกับดูแลการปฏิบัติงานประจำปี และรายงานการกำกับดูแลการปฏิบัติงานประจำปีของหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (Compliance Function)
    9. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของธนาคาร และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเสนอการเลิกจ้างผู้สอบบัญชีของธนาคาร รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    10. พิจารณาอนุมัติการว่าจ้างหรือการทำข้อตกลงกับผู้สอบบัญชีในภารกิจอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ หรือนอกเหนือจากงานสอบบัญชี (Audit-Related and Other Services)
    11. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์ต่อธนาคาร
    12. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของธนาคาร ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
      1. (1) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของธนาคาร
      2. (2) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของธนาคาร
      3. (3) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของธนาคาร
      4. (4) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
      5. (5) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
      6. (6) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน
      7. (7) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter)
      8. (8) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
    13. ดำเนินการสอบสวนโดยไม่ชักช้าเมื่อได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับพฤติการณ์อันควรสงสัย และรายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้นให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และผู้สอบบัญชีทราบ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี และรายงานต่อคณะกรรมการธนาคาร เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำ ดังต่อไปนี้
      1. (1) ผลประโยชน์ทับซ้อน
      2. (2) กรณีทุจริตหรือข้อบ่งชี้ว่าอาจมีการทุจริต หรือบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน
      3. (3) การปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือข้อกำหนดของทางการที่เกี่ยวข้อง
      หากคณะกรรมการธนาคารหรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด คณะกรรมการตรวจสอบจะต้องเปิดเผยการกระทำดังกล่าวไว้ในรายงานประจำปี และรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    14. ดำเนินการตามความเหมาะสม เมื่อได้รับแจ้งในเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมหรือเหตุการณ์อันควรสงสัยจากบุคคลทั้งภายในและ/หรือภายนอกธนาคาร รวมทั้งจากผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblowers)
    15. สอบทานความเหมาะสมของมาตรการและการดำเนินการแก้ไขของฝ่ายจัดการตามรายงานผลการตรวจสอบและการสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
    16. สอบทานความถูกต้องน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงินของบริษัทในเครือ การปฏิบัติตามนโยบายและมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ธนาคารกำหนดขึ้น เพื่อให้บริษัทในเครือถือปฏิบัติ รวมทั้งที่เกี่ยวกับการควบคุมภายในและการตรวจสอบ
    17. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ
    18. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่กฎหมายกำหนด
  7. องค์ประชุม
  8. องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
  9. การประชุมและการลงมติ
    1. (1) กำหนดการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง หรือตามความจำเป็น โดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
    2. (2) การประชุมสามารถดำเนินการผ่านระบบ Teleconferencing ได้ หรือในกรณีเร่งด่วนสามารถเวียนขอมติโดยนับเป็นองค์ประชุมได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หากประธานคณะกรรมการตรวจสอบไม่สามารถอนุมัติได้ ให้เสนอประธานคณะกรรมการธนาคารเป็นผู้อนุมัติแทน
    3. (3) ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการตรวจสอบไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทนเป็นการเฉพาะคราว
    4. (4) การลงมติ
      1. 4.1 การลงมติให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าประชุม ในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
      2. 4.2 กรณีเสนอเพื่ออนุมัติโดยการเวียนมติ ต้องส่งเรื่องให้กรรมการทุกท่านพิจารณา โดยการลงมติให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการที่ไม่ได้มีการแจ้งลาในช่วงเวลาที่มีการอนุมัติ
    5. (5) เลขานุการคณะจะมีการจัดทำรายงานการประชุมทุกครั้งรวมถึงจัดเก็บเอกสารเพื่อการตรวจสอบ
  10. รายงาน
  11. จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ

    รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ

กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร

  1. ภารกิจ
  2. ทบทวนและนำเสนองบประมาณประจำปี แผนธุรกิจของธนาคาร แผนการใช้เงินทุน การติดตามผลประกอบการและผลการดำเนินงานตามสายงานธุรกิจของธนาคาร การดูแลผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่ม และบริษัทที่ธนาคารมีการลงทุน โดยสอดคล้องกับนโยบายของธนาคาร การทบทวนและนำเสนอหรืออนุมัติการลงทุนขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับแผนงานและกลยุทธ์ตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย การทบทวนและนำเสนอแผนธุรกิจใหม่ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร การวางแผนการลงทุนในบริษัทอื่น การติดตามความคืบหน้าการบริหารแบรนด์และการสื่อสารขององค์กร รวมถึงปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
  3. ที่มาและวัตถุประสงค์
  4. เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คณะกรรมการธนาคารได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเพื่อแบ่งเบาภาระของคณะกรรมการในการติดตาม กำกับดูแล หรือพิจารณาศึกษาเรื่องสำคัญๆ ของธนาคารในรายละเอียด โดยคณะกรรมการบริหารมีอำนาจในการอนุมัติและตัดสินใจในนามของคณะกรรมการธนาคาร ตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
  5. องค์ประกอบ
  6. คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย กรรมการธนาคารจำนวน 5 คน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 1 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการธนาคาร
  7. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
  8. คำจำกัดความ

    “ธนาคาร” หมายถึง ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

    “คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

    “คณะกรรมการบริหาร” หมายถึง คณะกรรมการบริหารของธนาคาร

    1. ทบทวนผลการดำเนินงานของธนาคารในรายละเอียด ดังต่อไปนี้
      1. 1.1 ทบทวน และนำเสนองบประมาณประจำปี แผนธุรกิจของธนาคาร รวมถึงแผนการใช้เงินทุน
      2. 1.2 ติดตามผลประกอบการและผลการดำเนินงานตามสายงานธุรกิจของธนาคาร
      3. 1.3 ดูแลผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่มและบริษัทที่ธนาคารมีการลงทุน โดยสอดคล้องกับนโยบายของธนาคาร
    2. ทบทวน และนำเสนอ หรืออนุมัติการลงทุนขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับแผนงานและกลยุทธ์ตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย
    3. ทบทวนและนำเสนอหรืออนุมัติแผนเงินลงทุนตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย
    4. ทบทวน และนำเสนอแผนธุรกิจใหม่ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร รวมถึงแผนการลงทุนในบริษัทอื่น
    5. ทบทวนและนำเสนอการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรและขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบในระดับประธานเจ้าหน้าที่บริหารเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร
    6. อนุมัติการขายหนี้กลุ่มสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL Portfolio Sale) และทรัพย์สินรอการขายแบบกลุ่ม (NPA Portfolio Sale)
    7. การจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย และการตัดจำหน่ายทรัพย์สินรอการขายออกจากบัญชีสำหรับธุรกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ ซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของฝ่ายจัดการ และไม่ใช่ลูกหนี้ related parties หรือเป็นกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่เกิน SLL
    8. ติดตามความคืบหน้าการบริหารการเปลี่ยนแปลงของธนาคารซึ่งนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพของธนาคารในอนาคต
    9. ติดตามความคืบหน้าการบริหารแบรนด์และการสื่อสารขององค์กร
    10. ทบทวนผลการดำเนินงานของคณะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEC) และให้คำปรึกษาแก่ฝ่ายจัดการในประเด็นที่เร่งด่วนหรือสำคัญ ตลอดจนทบทวนประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ฝ่ายจัดการเสนอ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการธนาคาร
    11. กำกับดูแลการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิตัลของธนาคารและแผนการลงทุนด้าน IT เพื่อให้แน่ใจว่าการลงทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและระบบงานรองรับการให้บริการด้านดิจิตัลของธุรกิจรวมถึงการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของระบบ
    12. กำกับดูแลให้มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับข้อมูลของลูกค้า คุณภาพของข้อมูลและความปลอดภัยของข้อมูล
    13. ติดตามการควบคุมและดูแลการปฏิบัติในการดูแลความปลอดภัยของระบบและการบริหารจัดการช่องโหว่ต่อภัย คุกคามจากไซเบอร์เพื่อให้ข้อมูลมีความเชื่อถือได้และปลอดภัยเป็นไปตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่กำหนดรวมถึงรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบถึงการเปิดเผยข้อมูลด้าน ITและความปลอดภัยด้านไซเบอร์
    14. การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยภายใต้การจัดการของคณะกรรมการบริหารและการกำกับดูแลงานคณะกรรมการชุดย่อยให้มีความชัดเจน
    15. ดำเนินการเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะกรรมการบริหารพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นตามหน้าที่และความรับผิดชอบ หรือดำเนินการเรื่องอื่น ๆ ที่ได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
    16. อำนาจการอนุมัติการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการ
      เป็นไปตามเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน เรื่อง อำนาจอนุมัติเบิกจ่ายงบประมาณประเภทต่าง ๆ
  9. องค์ประชุม
  10. องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
  11. การประชุมและการลงมติ
    1. กำหนดการประชุมเดือนละ 2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น โดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการบริหาร
    2. การประชุมสามารถดำเนินการผ่านระบบ Teleconferencing / Videoconferencing ได้ หรือในกรณีเร่งด่วนสามารถเวียนขอมติโดยนับเป็นองค์ประชุมได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการบริหาร หากประธานคณะกรรมการบริหารไม่สามารถอนุมัติได้ ให้เสนอประธานคณะกรรมการธนาคารเป็นผู้อนุมัติแทน
    3. ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการบริหารไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน เป็นการเฉพาะคราว
    4. การลงมติ
      1. 4.1 การลงมติให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าประชุม ในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
      2. 4.2 กรณีเสนอเพื่ออนุมัติโดยการเวียนมติ ต้องส่งเรื่องให้กรรมการทุกท่านพิจารณา โดยการลงมติให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการที่ไม่ได้มีการแจ้งลาในช่วงเวลาที่มีการอนุมัติ
    5. เลขานุการคณะจะมีการจัดทำรายงานการประชุมทุกครั้ง รวมถึงจัดเก็บเอกสารเพื่อการตรวจสอบ
  12. รายงาน
  13. จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ

    รายงานคณะกรรมการบริหาร

กฎบัตรคณะกรรมการสินเชื่อ

  1. ภารกิจ
  2. พิจารณาอนุมัติสินเชื่อ การแก้ไขและปรับปรุงหนี้ ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ และความเสี่ยงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับรายการการลงทุนหรือภาระผูกพันในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์และอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
  3. ที่มาและวัตถุประสงค์
  4. เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคาร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสินเชื่อ เพื่อแบ่งเบาภาระของคณะกรรมการในการพิจารณาอนุมัติรายการที่เกินจากอำนาจของฝ่ายจัดการ และตามที่ได้รับมอบหมาย
  5. องค์ประกอบ
  6. คณะกรรมการสินเชื่อประกอบด้วยกรรมการธนาคาร 2 คน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 1 คนและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยง 1 คนซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการธนาคาร
  7. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
    1. พิจารณาอนุมัติดังต่อไปนี้ที่เกินจากอำนาจอนุมัติของฝ่ายจัดการ
      1. 1.1 สินเชื่อ
      2. 1.2 การแก้ไขและปรับปรุงหนี้
      3. 1.3 การตัดจำหน่ายหนี้สูญทางบัญชี
      4. 1.4 การเข้าซื้อทรัพย์สิน / ตีโอนทรัพย์ชำระหนี้ ซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของฝ่ายจัดการ และไม่ใช่ลูกหนี้ related parties หรือเป็นกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่เกิน SLL
      5. 1.5 การจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย และการตัดจำหน่ายทรัพย์สินรอการขายออกจากบัญชี สำหรับธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ ซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของคณะกรรมการชุดย่อยภายใต้ระดับบริหาร และไม่ใช่ลูกหนี้ related parties หรือเป็นกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่เกิน SLL
    2. ทบทวนคำขออนุมัติสินเชื่อเฉพาะเรื่องสำหรับลูกหนี้ related parties หรือกลุ่มลูกหนี้ที่เกิน SLL ก่อน นำเสนอเพื่อ ขออนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร
    3. พิจารณาอนุมัติสินเชื่อสำหรับลูกหนี้รายที่มีวงเงินเกิน SEL Borrower แต่ยังคงอยู่ภายใต้ Group SEL ตามที่กำหนดไว้ในอำนาจอนุมัติสินเชื่อ Corporate Lending DoA และ SEL Policy รวมถึงให้ความเห็นชอบสำหรับคำขออนุมัติสินเชื่อลูกหนี้ที่มีวงเงินกลุ่มเกิน % Group SEL ภายใต้อำนาจอนุมัติของคณะกรรมการสินเชื่อเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร
    4. ทบทวนการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อของคณะกรรมการด้านสินเชื่อในระดับบริหาร (CUC/CRC1)
    5. พิจารณาอนุมัติความเสี่ยงด้านสินเชื่อและความเสี่ยงอื่น ๆที่เกี่ยวข้องสำหรับรายการการลงทุนหรือความผูกพันในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เกินจากอำนาจอนุมัติของฝ่ายจัดการ
    6. พิจารณาให้ความเห็นชอบ account plan สำหรับกลุ่มลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อรวมเกิน 5,000 ล้านบาทเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อทราบ
    7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่คณะกรรมการมอบหมายหรือกฎหมายกำหนด
  8. องค์ประชุม
  9. องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
  10. การประชุมและการลงมติ
    1. 6.1 การประชุม
      1. 6.1.1 กำหนดการประชุมเดือนละ 2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น โดยคำสั่งของประธาน คณะกรรมการสินเชื่อ
      2. 6.1.2 ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการสินเชื่อไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่ง มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานใน ที่ประชุมแทนเป็นการเฉพาะคราว
      3. 6.1.3 การประชุมสามารถให้กรรมการดำเนินการผ่านระบบ Teleconferencing ได้ หรือในกรณีเร่งด่วน สามารถเวียนขอมติโดยนับเป็นองค์ประชุมได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการสินเชื่อ หากประธานคณะกรรมการสินเชื่อไม่สามารถอนุมัติได้ ให้เสนอประธานคณะกรรมการธนาคารเป็นผู้อนุมัติแทน
    2. 6.2 การลงมติ
      1. 6.2.1 การลงมติให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าประชุม ในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
      2. 6.2.2 กรณีเสนอเพื่ออนุมัติโดยการเวียนมติ ต้องส่งเรื่องให้กรรมการทุกท่านพิจารณา โดยการลงมติให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการที่ไม่ได้มีการแจ้งลาในช่วงเวลาที่มีการอนุมัติ
    3. 6.3 เลขานุการคณะจะมีการจัดทำรายงานการประชุมทุกครั้งรวมถึงจัดเก็บเอกสารเพื่อการตรวจสอบ
  11. รายงาน
  12. จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ

    รายงานคณะกรรมการสินเชื่อ

กฎบัตรคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. ภารกิจ
  2. สนับสนุนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารโดยคำนึงถึงความซับซ้อน ลักษณะธุรกิจและความเสี่ยง ตลอดจนกลยุทธ์และการดำเนินงานในระยะยาว
  3. ที่มาและวัตถุประสงค์
  4. เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารด้านเทคโนโลยีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นคณะกรรมการชุดย่อยของคณะกรรมการธนาคาร เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปตามกรอบการบริหารความเสี่ยง สอดคล้องกับกลยุทธ์และการกำกับดูแลของธนาคารโดยรวม
  5. องค์ประกอบ
  6. คณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยกรรมการ 6 ท่าน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการธนาคาร ประกอบด้วย กรรมการธนาคารซึ่งไม่ใช่ผู้บริหาร 1 ท่าน กรรมการอิสระ 4 ท่าน และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  7. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
    1. กำกับดูแลแผนกลยุทธ์และการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย
      • เห็นชอบหรือทบทวนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อยปีละครั้งเพื่อให้มั่นใจว่า
        1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางในการดำเนินงานของ ธนาคาร
        2. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีมีความยืดหยุ่นที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ในอนาคต
        3. ธนาคารมีการประเมินความพร้อม หรือระดับวุฒิภาวะ (Maturity Level) ของเทคโนโลยี สารสนเทศ รวมถึงความสามารถในการรับมือกับภัยไซเบอร์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
      • ติดตามผลการดำเนินโครงการที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นส่วนสำคัญ รวมถึงโครงการที่มีความเสี่ยงต่อการดำเนินงานของธนาคาร
    2. กำกับดูแลให้มีนโยบายและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในภาวะปกติและในภาวะวิกฤตที่เหมาะสม โดย
      • สนับสนุนให้มีการจัดการโครงสร้างองค์กรที่ทำให้การบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนตามหลักการควบคุมดูแล 3 ระดับ (three lines of defense)
      • ติดตามสถานะความเสี่ยง ประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยง รวมถึงประเด็นที่มีนัยสำคัญ ซึ่งครอบคลุมการแก้ไขปัญหาหรือประเด็นที่มีนัยสำคัญในการบริหารความเสี่ยง ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ
    3. กำกับดูแลงบประมาณการลงทุนและงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์และให้ อยู่ในระดับที่เหมาะสม
    4. กำกับดูแลให้มีการเสริมสร้างความรู้และตระหนักถึงความเสี่ยงเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศแก่พนักงาน
    5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่กฎหมายกำหนด และ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
  8. องค์ประชุม
  9. องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด
  10. การประชุมและการลงมติ
    1. กำหนดการประชุมอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้งหรือตามความจาเป็น โดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการ
    2. การประชุมสามารถดำเนินการผ่านระบบ Teleconferencing ได้ หรือในกรณีเร่งด่วนสามารถเวียนขอมติ โดยนับเป็นองค์ประชุมได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
    3. ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการกำกับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ ให้กรรมการธนาคารซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการอิสระ หรือ กรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหาร ท่านหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน
    4. การลงมติ
      1. 4.1 การลงมติให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าประชุม ในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
      2. 4.2 กรณีเสนอเพื่ออนุมัติโดยการเวียนมติ ต้องส่งเรื่องให้กรรมการทุกท่านพิจารณา
    5. เลขานุการคณะจะมีการจัดทำรายงานการประชุมทุกครั้งรวมถึงจัดเก็บเอกสารเพื่อการตรวจสอบ
  11. รายงาน
  12. คณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศเสนอรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ โดยรายงานควรครอบคลุมถึงสถานะความเสี่ยง ประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยง รวมถึง ประเด็นที่มีนัยสำคัญในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ

    รายงานคณะกรรมการกำกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

กฎบัตรคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล

  1. ภารกิจ
  2. กลั่นกรอง เสนอชื่อบุคคลต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาแต่งตั้งดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคาร กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูงในบางระดับ พิจารณาทบทวนค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมาย กลยุทธ์ การควบคุมภายในสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมองค์กร พิจารณาทบทวนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และด้านบรรษัทภิบาลให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
  3. ที่มาและวัตถุประสงค์
  4. เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คณะกรรมการธนาคารได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล เพื่อแบ่งเบาภาระของคณะกรรมการในการติดตาม กำกับดูแล หรือพิจารณาศึกษาเรื่องสำคัญๆ ของธนาคารในรายละเอียด โดยคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล มีอำนาจในการอนุมัติและตัดสินใจในนามของคณะกรรมการธนาคาร ตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
  5. องค์ประกอบ
    1. คณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คนสมาชิกทุกคนต้องเป็นกรรมการอิสระหรือกรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหารและแต่งตั้งโดยคณะกรรมการธนาคาร
    2. คณะกรรมการธนาคารแต่งตั้งกรรมการอิสระ/กรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหารคนหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล
  6. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
  7. คำจำกัดความ

    “ธนาคาร” หมายถึง ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

    “คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

    “คณะกรรมการชุดย่อย” หมายถึง คณะกรรมการชุดย่อยที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการธนาคาร

    “กลุ่มธุรกิจ” หมายถึง ธนาคารและบริษัทในกลุ่ม

    “คณะกรรมการสรรหาฯ” หมายถึง คณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาลของธนาคาร

    “ผู้บริหารระดับสูง” หมายถึง ผู้บริหารของธนาคารตั้งแต่ระดับ 9 ขึ้นไป หรือบุคคลที่ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการแต่งตั้ง รวมถึงประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทในกลุ่ม

    “บริษัทในกลุ่ม” หมายถึง กิจการซึ่งธนาคารถือหุ้นเท่ากับหรือเกินกว่าร้อยละ 50 หรือกิจการที่ธนาคารมี อำนาจในการจัดการ

    ภาระหน้าที่
    1. ด้านสรรหา
      1. 1.1 ทบทวนและเสนอนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหา คัดเลือก และแต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้ โดยใช้ skill matrix ประกอบการวิเคราะห์ ให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ
        1. (ก) กรรมการธนาคาร
        2. (ข) กรรมการและประธานในคณะกรรมการชุดย่อย
        3. (ค) ตัวแทนธนาคารในฐานะกรรมการผู้แทน ประธาน หรือผู้บริหารสูงสุดของบริษัทในกลุ่ม หรือกิจการที่ธนาคารมีสิทธิในการแต่งตั้งกรรมการผู้แทน
        4. (ง) ผู้บริหารระดับสูง
      2. 1.2 กลั่นกรอง พิจารณาบุคคลสำหรับเสนอชื่อ และนำเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามข้อ 1
      3. 1.3 เสนอแผนสืบทอดตำแหน่งของผู้บริหารระดับสูงต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
      4. 1.4 ทบทวนและติดตามให้มีการนำนโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการ และแผนงานตามข้อ 1 และ ข้อ 3 ไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล และรายงานให้คณะกรรมการธนาคารรับทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    2. ด้านกำหนดค่าตอบแทน
      1. 2.1 พิจารณาทบทวน นโยบาย โครงสร้าง และแนวปฏิบัติโดยรวมเกี่ยวกับค่าตอบแทนของธนาคารและบริษัทในกลุ่มรวมถึงดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อสาธารณะ รวมถึง สวัสดิการ การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อกำหนดผลตอบแทน เงินรางวัล และเงินชดเชยกรณีการเลิกจ้าง เพื่อให้มีความสอดคล้องกับมติคณะกรรมการธนาคาร วัฒนธรรม เป้าหมาย กลยุทธ์และสภาพแวดล้อมการควบคุมภายใน การเพิ่มมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นในระยะยาว และมีความเหมาะสมเป็นธรรมกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ การบริหารความเสี่ยงและผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล และเทียบเคียงได้กับอัตราผลตอบแทนในตลาด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายและให้ข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายจัดการ และคณะกรรมการธนาคารตามความเหมาะสม
      2. 2.2 เสนอจำนวนเงินค่าตอบแทนและสวัสดิการของกรรมการธนาคารและกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการอนุมัติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น)
      3. 2.3 อนุมัติค่าตอบแทน สวัสดิการ ผลตอบแทนที่เป็นรางวัล หรือเงินชดเชยกรณีการเลิกจ้างของผู้บริหารระดับสูง (หรือในกรณีประธานเจ้าหน้าที่บริหารเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ)
    3. ด้านบรรษัทภิบาล
      1. 3.1 ทบทวนและเสนอการเปลี่ยนแปลงนโยบาย จรรยาบรรณ กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติโดยคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนรวมทั้งปลูกฝังให้มีวัฒนธรรมองค์กร ต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ เพื่อให้แน่ใจว่าธนาคารมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามมาตรฐานสูงสุด มีจริยธรรมตามแนวปฏิบัติที่เป็นสากล ตลอดจน ดูแล ติดตาม และรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบเกี่ยวกับการดำเนินการและประสิทธิผลของการดำเนินการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
      2. 3.2 เสนอขนาดและองค์ประกอบของคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการชุดย่อยที่เหมาะสม ตลอดจนบทบาท ขอบเขต อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละคณะที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร ต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
      3. 3.3 เสนอนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะของคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการชุดย่อย ต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ และรายงานผลให้คณะกรรมการธนาคารทราบ
    4. หน้าที่อื่นๆ
      1. 4.1 ดำเนินการเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาฯ และคณะกรรมการสรรหาฯ พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นตามความรับผิดชอบตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
      2. 4.2 จัดทำรายงานและเปิดเผยข้อมูลการทำงานแก่คณะกรรมการธนาคาร หน่วยงานที่กำกับดูแลธนาคาร ผู้ถือหุ้น และสาธารณชนตามที่กฎหมายกำหนด หรือตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
      3. 4.3 ทบทวนและให้คำแนะนำคณะกรรมการบริษัท ในเรื่องของการไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทหรือที่ปรึกษาในบริษัทอื่น ๆ ของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
      4. 4.4 ทบทวนและให้คำแนะนำบทบาทของการเป็นกรรมการบริษัทและที่ปรึกษาในบริษัทอื่น ๆ ของผู้บริหารระดับสูง
  8. องค์ประชุม
  9. องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
  10. การประชุมและการลงมติ
    1. กำหนดการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง หรือตามความจำเป็นโดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการสรรหาฯ
    2. การประชุมสามารถดำเนินการผ่านระบบ Teleconferencing / Videoconferencing ได้ หรือในกรณีเร่งด่วนสามารถเวียนขอมติโดยนับเป็นองค์ประชุมได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการสรรหาฯ หากประธานคณะกรรมการสรรหาฯ ไม่สามารถอนุมัติได้ ให้เสนอประธานคณะกรรมการธนาคารเป็นผู้อนุมัติแทน
    3. ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการสรรหาฯ ไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทนเป็นการเฉพาะคราว
    4. การลงมติ
      1. 4.1 การลงมติให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าประชุม ในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
      2. 4.2 กรณีเสนอเพื่ออนุมัติโดยการเวียนมติ ต้องส่งเรื่องให้กรรมการทุกท่านพิจารณา โดยการลงมติให้ถือ ตามเสียงข้างมากของกรรมการที่ไม่ได้มีการแจ้งลาในช่วงเวลาที่มีการอนุมัติ
    5. เลขานุการคณะจะมีการจัดทำรายงานการประชุมทุกครั้ง รวมถึงจัดเก็บเอกสารเพื่อการตรวจสอบ
  11. รายงาน
  12. จัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ

    รายงานคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล

กฎบัตรคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง

  1. ภารกิจ
  2. สนับสนุนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารโดยคำนึงถึงความซับซ้อน ลักษณะธุรกิจและความเสี่ยงตลอดจนกลยุทธ์และการดำเนินงานในระยะยาวของธนาคารและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
  3. ที่มาและวัตถุประสงค์
  4. เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารด้านความเสี่ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับความเสี่ยงเป็นคณะกรรมการชุดย่อยของคณะกรรมการธนาคารเพื่อทำหน้าที่ในการกำกับความเสี่ยงให้เป็นไปตามกรอบการบริหารความเสี่ยงของธนาคารและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และสอดคล้องกับกรอบการกำกับดูแลของธนาคารและกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยรวม
  5. องค์ประกอบ
  6. คณะกรรมการกำกับความเสี่ยงประกอบด้วยกรรมการ 7 ท่าน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการธนาคาร ประกอบด้วย กรรมการธนาคารซึ่งไม่ใช่ผู้บริหารหรือกรรมการอิสระ 5 ท่าน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยง
  7. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
    1. นำเสนอกรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงที่ดี (Risk Governance Framework) * รวมถึง นโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวม ต่อคณะกรรมการธนาคาร โดยครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านเงินกองทุน ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (รวมถึงความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์และด้านชื่อเสียง ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความเสี่ยงด้านอื่น ๆ
      1. 1.1 ให้คำแนะนำต่อคณะกรรมการธนาคารในเรื่องนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ระดับความเสี่ยงที่สามารถทนได้ (Risk Tolerance) และกลยุทธ์ความเสี่ยง (Risk Strategy) ของธนาคารและหน่วยงานธุรกิจ
      2. 1.2 ให้ความเห็นต่อคณะกรรมการธนาคารในการอนุมัติระดับความเสี่ยง (Risk Level) และการกระจุกตัวของความเสี่ยง (Risk Concentration) ทั้งนี้ โดยอยู่ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของคณะกรรมการธนาคาร
      3. 1.3 อนุมัตินโยบายและกรอบงานที่สำคัญเพื่อใช้กำกับการบริหารความเสี่ยง รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลความเสี่ยง (Risk Governance) ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
      4. 1.4 อนุมัติอำนาจอนุมัติสินเชื่อ (Credit DoA) ของคณะกรรมการในระดับจัดการตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคารทั้งนี้ต้องไม่เกินกว่าระดับอำนาจอนุมัติสินเชื่อของคณะกรรมการชุดย่อยของคณะกรรมการธนาคารและไม่รวมถึงลูกหนี้ที่มีความเกี่ยวข้องกับธนาคาร
      5. 1.5 รับทราบการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญของนโยบาย / แนวทางอำนาจอนุมัติที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการชุดย่อยภายใต้ระดับบริหารเป็นรายไตรมาส
      6. 1.6 กำกับดูแลเงินกองทุนและการบริหารความเสี่ยงด้านกลยุทธ์สภาพคล่องเพื่อให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
      7. 1.7 กำกับดูแลความเหมาะสมของการกำหนดนโยบายและมาตรฐานในการจัดให้มีระบบเทคโนโลยี ข้อมูลสารสนเทศ และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านไซเบอร์ตามมาตรฐานสากล
      8. 1.8 กำกับดูแลเทคโนโลยี ข้อมูลสารสนเทศ และความเสี่ยงด้านไซเบอร์ให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในการกำกับดูแลความเสี่ยงในภาพรวม
    2. วางกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวต้องสามารถประเมิน ติดตาม และดูแลได้ว่าระดับความเสี่ยงของสถาบันการเงินอยู่ในระดับที่เหมาะสม
      • 2.1 อนุมัติเพดานความเสี่ยงส่วนเพิ่มเติม (Supplemental Risk Limit) ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายและ กรอบงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
      • 2.2 ทบทวนความเพียงพอของนโยบายและระบบการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร รวมถึงประสิทธิภาพของนโยบายและระบบการบริหารความเสี่ยงในแง่ของ การระบุ การวัด การรวบรวม การควบคุม และการรายงานความเสี่ยงว่าได้มีการดำเนินการโดยผู้บริหารระดับสูงและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยง (CRO)
      • 2.3 ทบทวนและติดตามความเสี่ยงทั้งหมด รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งครอบคลุมถึงการควบคุมภายใน และการกำกับขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Process) รวมถึงระบบปฏิบัติงาน (System)
    3. อนุมัติการแต่งตั้ง การทบทวนโครงสร้างและองค์ประกอบ รวมถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในระดับจัดการชุดย่อยต่าง ๆ
    4. รายงานผลการปฏิบัติในเรื่องบริหารความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยงในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งมาตรในการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อคณะกรรมการธนาคารและหารือแลกเปลี่ยนกับคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารมีนโยบายและกลยุทธ์ครอบคลุมความเสี่ยงด้านต่าง ๆ รวมถึงความเสี่ยงใหม่ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า การนำไปปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลสอดคล้องตามนโยบายและกลยุทธ์ที่ธนาคารกำหนดไว้
    5. ให้คำแนะนำในการพัฒนาและการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยผ่านทางวิธีปฏิบัติ (Procedure) การฝึกอบรมและการปฏิบัติของผู้นำ เพื่อให้พนักงานได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการกระทำของตนซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างต่อธนาคาร รวมทั้งหน่วยงานธุรกิจของตน
    6. ให้คำแนะนำในการวางโครงสร้างผลตอบแทน ให้มีความสอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยงและวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
    7. ให้ความเห็นชอบในการพิจารณาการแต่งตั้งหรือโอนย้ายหรือถอดถอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยงและมีส่วนร่วมในการประเมินการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยงและรับทราบ KPI ของประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยง
    8. ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินดำเนินการตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งทบทวนความเพียงพอและความมีประสิทธิผลของนโยบายที่กำหนดอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้สามารถครอบคลุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    9. ประเมินการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและรายงานโดยตรงต่อคณะกรรมการธนาคารอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้คณะกรรมการธนาคารสามารถติดตามการบริหารงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง และในกรณีที่มีเหตุการณ์ที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้คณะกรรมการกำกับความเสี่ยงรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารในทันที
    10. รับทราบรายงานการบริหารความเสี่ยงของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่ถือหุ้นโดยธนาคารทหารไทยธนชาตอย่างสม่ำเสมอ
    11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่คณะกรรมการมอบหมายหรือกฎหมายกำหนด
    12. หมายเหตุ


      *ตามที่กำหนดในประกาศธปท.สนส. 10/2561 เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน

  8. องค์ประชุม
  9. องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการไม่ต่ำกว่า 4 ท่าน และอย่างน้อยสองท่านในนั้นต้องเป็นกรรมการธนาคารซึ่งไม่ใช่ผู้บริหาร หรือกรรมการอิสระ
  10. การประชุมและการลงมติ
    1. กำหนดการประชุมไตรมาสละ 1 ครั้ง หรือตามความจำเป็น โดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการ การประชุมกรณีเร่งด่วนสามารถจัดประชุมได้ตามคำร้องขอของกรรมการ โดยต้องได้รับการอนุมัติจากประธานคณะกรรมการ ทั้งนี้เรื่องที่จะพิจารณาให้มีการจัดประชุมกรณีเร่งด่วน มีดังต่อไปนี้
      • ระดับความเสี่ยงเกินกว่าระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
      • เหตุการณ์สำคัญ ความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญ ประเด็นจากหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกำกับความเสี่ยงก่อนนำเสนอคณะกรรมการธนาคาร
      • ประเด็นอื่นตามที่ประธานคณะกรรมการกำหนด
    2. การประชุมสามารถดำเนินการผ่านระบบ Teleconferencing ได้ หรือในกรณีเร่งด่วนสามารถเวียนขอมติโดยนับเป็นองค์ประชุมได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง
    3. ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการกำกับความเสี่ยงไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการธนาคารซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหารหรือกรรมการอิสระท่านหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน
    4. การลงมติ
      1. 4.1 การลงมติให้ถือตามเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าประชุม ในกรณีที่คะแนนเสียงในที่ประชุมเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
      2. 4.2 กรณีเสนอเพื่ออนุมัติโดยการเวียนมติ ต้องส่งเรื่องให้กรรมการทุกท่านพิจารณา
    5. เลขานุการคณะจะมีการจัดทำรายงานการประชุมทุกครั้งรวมถึงจัดเก็บเอกสารเพื่อการตรวจสอบ
  11. รายงาน
  12. คณะกรรมการกำกับความเสี่ยงเสนอรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อรับทราบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ โดยรายงานควรครอบคลุมถึงสถานะความเสี่ยง ความมีประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง รวมถึงปัญหาหรือประเด็นที่มีนัยสำคัญในการบริหารความเสี่ยง โดยครอบคลุมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือประเด็นที่มีนัยสำคัญในการบริหารความเสี่ยง

    รายงานคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด