external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

เมื่อโลกอยู่ยากขึ้นทุกวัน มาดูเคล็ดลับสร้างความมั่นคงให้ชีวิต

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #เคล็ดลับสร้างความมั่นคงให้ชีวิต

25 ก.ค. 2564



เมื่อโลกอยู่ยากขึ้นทุกวัน อะไรที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ชาว Gen Y ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นหัวเรือหลักของคนในบ้าน จะเตรียมตัวอย่างไร เพื่อให้พร้อมดูแลทั้งตัวคุณเอง และครอบครัวที่คุณรัก ด้วยเคล็ดลับการสร้างความมั่นคงให้ชีวิต

หากพูดถึงคนในแต่ละ Generation คน Gen Y ถือว่าเป็นวัยที่ก้าวเข้าสู่การเป็นหัวเรือหลักของบ้าน ซึ่งเป็น Chapter สำคัญของชีวิต เป็นธรรมดาที่จะต้องคิดให้มากขึ้น เพื่อให้ชีวิตต่อจากนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ได้สร้างอนาคตของตัวเองให้มั่นคง ได้ดูแลคนทุก Gen ในครอบครัวให้ดีที่สุด รวมไปถึงการได้ใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข หลายคนจึงมองว่า นี่คือ หน้าที่ ความรับผิดชอบ หรือมองว่าเป็นความท้าทายของคนวัยเรา

จากรายงานของเจาะเทรนด์โลก TCDC ปี 2021 ระบุว่า เราชาว Gen Y คือกลุ่มคนในวัย 25-40 ปี ที่เกิดในปี ค.ศ.1981-1996 เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคที่เศรษฐกิจกำลังเฟื่องฟู ถนัดใช้สื่อโซเชียล เป็น Gen ที่ขับเคลื่อนธุรกิจออนไลน์ สนใจที่อยู่อาศัยแบบ Minimal Luxury ที่หรูหราดูดี แต่มีความเรียบง่าย ถ้ามีลูก ก็จะดูแลอย่างเต็มที่ และที่สำคัญคือ พวกเรารักในความเป็น Well-being หรือการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ที่สร้างความสมดุลให้ชีวิตและการงาน

จากข้อมูลข้างต้นยิ่งตอกย้ำว่า ภายใต้ภาวะโลกที่เปลี่ยนไป เราต่างมองหา “ความมั่นคงในชีวิต” กันมากขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของเรา


ชีวิตที่มั่นคงของคน Gen Y คืออะไร ?

หากคำตอบนั้นคือ “ความมั่นคงในชีวิต” แล้วเราควรเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง เพื่อให้ชีวิตมีความมั่นคง ?

ไม่ว่าคุณจะอ่านหนังสือเล่มไหน ก็มักพบว่า องค์ประกอบของชีวิตที่มั่นคงคงหนีไม่พ้นเรื่องการเงิน การงาน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง รวมไปถึงสุขภาพกายและใจ หรือการได้ทำอะไรบางอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้น กุญแจสำคัญที่จะทำให้เราถึงเป้าหมายในการมีชีวิตที่มั่นคงและอยู่รอดได้ในทุกวิกฤติ ก็คือ “การสร้างสมดุลชีวิต” และมี “ชีวิตทางการเงินที่ดี” นั่นเอง


1. การสร้างสมดุลชีวิต (Work Life Balance)

การสร้าง “สมดุลชีวิต” ไม่ใช่แค่เพียงการทำงานให้พอเหมาะเท่านั้น แต่เป็นการสร้างความสมดุล ทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ ความสัมพันธ์ และการทำงานให้เหมาะสมควบคู่กันไป

  • สุขภาพกาย นับเป็นพื้นฐานของสมดุลชีวิต เพราะหากวันใดที่เราเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาก็อาจส่งผลกระทบต่อสมดุลชีวิตในด้านอื่น ๆ ด้วย ลองนึกภาพตัวเราป่วย นอนซมอยู่บนเตียง จะเอาแรงที่ไหนไปสร้างสมดุลด้านอื่น ๆ ยิ่งชาว Gen Y ที่เป็นคนวัยทำงานอย่างเรา ย่อมมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย ๆ จากความตั้งใจทำงาน เพื่อให้ประสบความสำเร็จ

    จากข้อมูลของกรมอนามัยพบว่า โรคยอดฮิตของคนวัยนี้ที่มักจะเป็นก็คือ Office Syndrome ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและความเครียดในขณะทำงาน แม้จะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงแต่หากละเลยก็อาจกลายเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวได้ เช่น
    - กรดไหลย้อน: เกิดจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา เคี้ยวไม่ละเอียด เครียดจัดจนอาหารไม่ย่อย Tips: เลี่ยงอาหารมัน ๆ รสจัด ย่อยยาก ควรกินอาหารไขมันต่ำ และไฟเบอร์สูง เช่น ปลา ไก่ โฮลวีต อะโวคาโด น้ำมันงา
    - ไมเกรน: เกิดจากความเครียดสะสม และการพักผ่อนไม่เพียงพอ Tips: นอนให้เป็นเวลา คิดบวก และกินอาหารที่ช่วยลดอาการไมเกรน เช่น ขิง บร็อคโคลี่ อัลมอนด์ กล้วย แซลมอน
    - กระเพาะปัสสาวะอักเสบ: เกิดจากการอั้นปัสสาวะนาน ๆ จนเชื้อแบคทีเรียเข้าไปทางท่อปัสสาวะทำให้เกิดการอักเสบ Tips: ไม่กลั้นปัสสาวะนานเกินไป พยายามเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
    - ปวดคอ ปวดหลัง หรือปวดกล้ามเนื้อช่วงหลัง: เกิดจากการนั่งทำงานในท่าเดิม ๆ นานเกินไป

    Tips: ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อได้ยืดหยุ่น ขณะทำงานควรขยับร่างกาย ยืน หรือเดินประมาณ 5 นาที ทุก ๆ 1 ชั่วโมง
  • สุขภาพใจ นึกถึงคำพูดที่ว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว หากมองในแง่วิทยาศาสตร์ เมื่อเรามีสุขภาพจิตที่ดี ก็จะส่งผลให้ฮอร์โมนและระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานเป็นปกติ มีสมาธิ บริหารความเครียดได้ดี และมักจะคิดบวกอยู่เสมอ
  • วามสัมพันธ์ หากเรามีสมดุลด้านสุขภาพกายและใจที่ดีแล้ว แน่นอนว่าความสัมพันธ์กับคนรอบข้างก็จะดีไปด้วย เพราะใคร ๆ ก็ชอบที่จะอยู่ใกล้คนอารมณ์ดี มีพลังบวกกันทั้งนั้น
  • การทำงาน เมื่อเรามีร่างกายและจิตใจที่พร้อมในแต่ละวัน และบริหารเวลาได้อย่างเหมาะสมก็จะทำให้การทำงานของเรานั้นราบรื่นไปด้วย


2. ชีวิตทางการเงินที่ดี (Financial Well-being)

รู้ไหมว่า ? ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประเมินค่าใช้จ่ายเอาไว้ว่า กว่าเราจะส่งลูกหนึ่งคนเรียนตั้งแต่อนุบาลจนจบมหาวิทยาลัยรัฐบาลได้ ต้องใช้เงินถึง 1.6 ล้านบาท หากขยับมาเรียนเอกชนต้องใช้เงิน 4.0 ล้านบาท และหากต้องการส่งลูกเรียนจบอินเตอร์จะมีค่าใช้จ่ายถึง 20.1 ล้านบาท !

เคยคิดไหมว่า เงินก้อนหลังเกษียณที่จะให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างสบาย ควรเตรียมไว้อย่างน้อย 6 ล้านบาท !


การจะมีชีวิตทางการเงินที่ดีได้นั้น สิ่งสำคัญคือการ “บริหารการเงินอย่างลงตัว” ด้วยการวางแผนทางการเงินอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การออมเงิน การลงทุน รวมไปถึงการสร้างความคุ้มครอง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับอนาคตที่จะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงชีวิตได้อย่างมั่นใจ

  • ออมเงินก่อนใช้: การแบ่งเงินมาออมก่อนใช้ เมื่อมีรายได้เข้ามาในแต่ละเดือน จะช่วยให้การออมเงินสำเร็จง่ายขึ้น และควรออมไว้ในบัญชีฝากไม่ประจำดอกเบี้ยสูง เพราะถอนเมื่อไหร่ก็ได้ เผื่อมีเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินจำนวนนี้
  • ลงทุนเพื่ออนาคต: เริ่มลงทุนในกองทุนตามเป้าหมายการลงทุน เช่น SSF กองทุนรวมส่งเสริมการออมระยะยาว เพื่อลดหย่อนภาษี พร้อมทั้งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น หรือ RMF กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพื่อให้มีเงินก้อนไว้ใช้หลังเกษียณ
  • สร้างความคุ้มครองอุ่นใจ: ด้วยการทำประกันที่เหมาะสม เพื่อให้พร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และยังเป็นการปกป้องเงินออมของเราที่อาจจะต้องนำมาใช้จ่ายกับค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย

ถ้าเปรียบความมั่นคงในชีวิตเป็นบ้านสักหลัง ก็จะต้องมีเสาหลักที่แข็งแรงค้ำยัน หากเสาใดเกิดสั่นคลอน หรือล้มลงไป คงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ โดยเฉพาะสมดุลของชีวิตในด้านสุขภาพ เพราะนั่นหมายความว่านอกจากเราจะไม่มีแรงกำลังในการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีแล้ว ยังอาจเป็นภาระของครอบครัวในภายหลังด้วย

ดังนั้น ถึงเวลาที่ต้องกลับมาตั้งคำถามให้กับตัวเองแล้วว่า “คุณมีความคุ้มครองที่ครอบคลุมหรือยัง ?” และถ้ามีแล้ว ความคุ้มครองนั้นครอบคลุมมากแค่ไหน ? หรือควรมองหาความคุ้มครองเพิ่มเติม เพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ พร้อมรับมือกับทุกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

เราขอแนะนำ ทีทีบี เฟล็กซี่ แคร์ ประกันชีวิตและสุขภาพแบบเหมาจ่าย ที่ออกแบบมาให้ยืดหยุ่น สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการ และยังสามารถเลือกจ่ายค่าเบี้ยน้อยลงเมื่อคุณเลือกความคุ้มครองแบบรับผิดส่วนแรก (Deductible) โดยใช้สิทธิ์ร่วมกับประกันสุขภาพจากสวัสดิการที่ออฟฟิศให้อยู่แล้วได้ เพื่อให้มั่นใจว่าในอนาคตเราจะพร้อมรับมือกับทุกเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ และสามารถสร้างสมดุลชีวิตในทุก ๆ ด้าน รวมไปถึงสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่คุณตั้งใจและใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

 


ที่มา:

  • TCDC, เจาะเทรนด์โลก, 2021
  • Harvard news, Sense of Purpose by Mark Zuckerberg, 2017
  • ประชาชาติธุรกิจ, ค่าใช้จ่ายระดับอนุบาลถึงปริญญาตรี, 2561
  • กรุงเทพธุรกิจ, เงินก้อนหลังเกษียณที่ควรเตรียม, 2561
ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด